Jeu Du Paume

 

 

 







รูปร่างคอร์ทลอนเทนนิส
ของนายพันตรีวิงฟิลด์









The All England
Lawn Tennis and
Croquet Club

 

 

 

 

 

 

ความเป็นมาของกีฬาเทนนิส

มีหลักฐานพบว่า ประมาณศตวรรษที่ 13 ประเทศฝรั่งเศสมีการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกีฬาเทนนิสเรียกว่า Le Jeu Du Paume (เจอเดอปูม) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า The Game of the Palm (เกมส์ของฝ่ามือ) เป็นกีฬาของชนชั้นสูงที่เล่นในร่มโดยใช้ฝ่ามือตีลูกบอลทรงกลม หลังจากนั้นจึงมีการใช้เเร็คเก็ตเเทนฝ่ามือ

ในตอนต้นศตวรรษที่ 17 มีการสร้างคอร์ทนับร้อยในกรุงปารีสและกีฬานี้เป็นที่นิยมมาก จนกระทั่งนำไปสู่การพนัน ทำให้กีฬานี้ถูกห้ามเล่นในที่สาธารณะแต่อนุญาติให้เล่นได้ในกลุ่มสังคมชั้นสูง

ตอนปลายศตวรรษที่ 16 Le Jeu Du Paume ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษ จึงนับได้ว่าประเทศอังกฤษมีส่วนในการพัฒนากีฬานี้  ในปี ค.ศ. 1327 - 1377 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 ได้สร้างคอร์ทขึ้นภายในพระราชวังวินเซอร์ และในปี ค.ศ. 1414  เจ้าชาย Dauphin แห่งฝรั่งเศส ได้ถวายของขวัญแก่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 เป็นลูกบอลสำหรับใช้เล่นเกมส์นี้ หลักฐานการถวายของขวัญครั้งนี้ ปรากฏอยู่ในบทละครของเชคสเปียร์เรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 (Henry V) ในภาค (Act) ที่ 1, ฉาก (Scene) ที่ 2, บรรทัดที่ 261-262 ดังนี้

When we have match'd our rackets to these balls,
We will in France (by God's grace) play a set . . . .


หลังจากการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส Le Jeu Du Paume ก็สูญหายไปพร้อมกับกลุ่มชนชั้นสูง แต่ในประเทศอังกฤษยังคงมีการเล่นกีฬานี้อยู่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1874 นายพันตรี วอลเตอร์ คล็อปตัน วิงฟิลด์ (Major Walter Clopton Wingfield) ได้ดัดแปลงการเล่นมาจากกีฬาเทนนิสซึ่งแต่เดิมเล่นกันในร่มมาเล่นกันกลางแจ้ง และเรียกชื่อว่า Sphairistike แปลว่า Play ในภาษากรีก

อุปกรณ์การเล่นต่างๆ ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย เสา ตาข่าย ลูกบอล ไม้แร็กเกตและกติกาการเล่น สนามเทนนิสของเขามีลักษณะตรงกลางแคบแต่ทางด้านท้ายสนามผายออก คล้ายนาฬิกาทราย สำหรับตาข่ายที่ใช้กั้นตรงกลางสูง 7 ฟุตเหมือนตาข่ายแบดมินตัน

ในระยะต่อมากีฬาเทนนิสเป็นที่นิยมและเล่นกันทั่วทั้งประเทศอังกฤษ แต่ละแห่งก็ตั้งกฎเกณฑ์และกติกาของตนเองขึ้น ตาข่ายที่กั้นกลางสนามก็เลื่อนจากที่สูงมาตั้งบนพื้น ในปี ค.ศ. 1875 สโมสรแมรี่ลีบอน คริกเกต (The Marylebone Cricket Club) ซึ่งเป็นสโมสรที่สำคัญในการดูแลมาตรฐานของเกมส์กีฬาต่างๆ และได้รับการสนับสนุนจากสโมสรออลอิงแลนด์โครเกท์ (The All England Croquet Club, ก่อตั้งเมื่อปี 1868 อยู่ชานเมืองของกรุงลอนดอนที่มีชื่อว่า Wimbledon) ได้พยายามเข้ามามีบทบาทในการควบคุมมาตรฐานของกีฬานี้ และได้ตั้งกติกาลอนเทนนิสขึ้นมาใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากของพันตรีวิงฟิลด์ ทำให้คนอังกฤษหันมาเล่นเทนนิสกันมากขึ้น มีการสร้างสนามเทนนิสขึ้นทั่ว ๆ ไป และในปี ค.ศ. 1877 ได้มีการจัดการแข่งขันเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

ปัจจุบันสิ่งที่เป็นของพันตรีวิงฟิลด์ที่เหลืออยู่ให้เห็นได้แก่ อุปกรณ์การเล่นที่เป็นตาข่าย กับชื่อคำว่า "เทนนิส" เท่านั้น นอกจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งสิ้นรวมทั้งคอร์ท กติกาการเล่นและวิธีนับคะแนน  พันตรีวิงฟิลด์จึงเปรียบเสมือนบิดาแห่งวงการเทนนิสโลก รูปปั้นของพันตรีวิงฟิลด์ ตั้งอยู่ที่ลอนเทนนิสสมาคมแห่งอังกฤษ

จากหลักฐานที่บันทึกส่วนใหญ่ พบว่า แมรี่ เอาเทอร์บริดจ์ (Mary Outerbridge) ได้ไปพบกีฬาเทนนิสที่เบอร์มิวดา (Bermuda) และในปี 1874 ได้นำอุปกรณ์และวิธีการเล่นกีฬานี้มาเผยแพร่ในประเทศอเมริกา โดยเล่นกันที่ The Staten Islang Cricket and Baseball Club รัฐนิวยอร์ค แต่นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Tom Todd ได้บันทึกไว้ว่าเป็น Dr. James Dwight เป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามายังประเทศอเมริกาในตอนต้นของปีเดียวกัน ที่จริงแล้วก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นคนแรก อย่างไรก็ตาม Mary Outerbridge เป็นคนที่พยายามผลักดันกีฬาเทนนิสในรัฐนิวยอร์ค ส่วน Dr. James Dwight แพทย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด (Harvard Medical School) เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญต่อวงการเทนนิสของอเมริกาและได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งกีฬาเทนนิสอเมริกา (Father of Tennis U.S.)  Dwight ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมา แต่กลับทุ่มเทเวลาให้กับเทนนิส โดยเป็นผู้ฝึกสอนแชมป์ชายเดี่ยวคนแรกของอเมริกา Dick Sears และเล่นคู่กับ Sears จนได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทชายคู่ในรายการ U.S. Open

กีฬาเทนนิสได้ถูกบรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคตั้งแต่ครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ (ปี 1896) เรื่อยมาจนถึงการแข่งขันโอลิมปิคที่กรุงปารีสในปี 1924 หลังจากนั้นก็ได้ถูกยกเลิกไปและได้ถูกบรรจุอยู่ในกีฬาโอลิมปิคอีกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี

ปี 1900 เกมส์การเล่นเทนนิสได้พัฒนาขึ้นมาก Renshaws เป็นผู้เริ่มการขึ้นเล่นหน้าเน็ต, Lawford ใช้ลูกท็อปสปิน (Topspin), Dwight Davis ผู้คิดวิธีการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิส (American Twist) ได้ให้ถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันประเภททีมระหว่างอังกฤษกับอเมริกา ซึ่งต่อมาได้เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้าร่วมการแข่งขันและเป็นรายการแข่งขันประเภททีมชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรียกว่า การแข่งขันเดวิสคัพ (Davis Cup)

ปี 1913 ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ในสมัยนั้นเรียกว่า International Lawn Tennis Federation - ILTF, ปัจจุบันคือ International Tennis Federation - ITF) เพื่อวางกฎระเบียบ กติกาต่างๆ ให้เป็นสากลและประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก

ช่วงปี 1919-1945 ถือเป็นช่วงทองของกีฬาต่างๆ มีนักกีฬาระดับซุปเปอร์สตาร์กำเนิดขึ้นมากมาย เช่น  เบสบอล - Babe Ruth; มวย - Jack Dempsey; กอล์ฟ - Boby Jones; ม้าแข่ง - Man o' War; เทนนิส - Bill Tilden, Suzanne Lenglen, Helen Wills Moody

ปี 1946-1967 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการแบ่งแยกระหว่างนักเทนนิสสมัครเล่น (Amateurs) และนักเทนนิสอาชีพ (Pros)  รายการแข่งขันที่สำคัญต่างๆ ยังไม่อนุญาติให้นักเทนนิสอาชีพเข้าแข่ง เช่น Australian, French, Wimbledon, U.S Open รวมทั้ง Davis Cup นักเทนนิสที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ Jack Kramer, Pancho Segura, Pancho Gonzalez, Althea Gibson, Maureen Connolly, Rod Lever, Ken Rosewall & Lew Hoad, Neale Fraser, John Newcombe, Billie Jean King

ปี 1968-1996 เป็นยุคที่เรียกว่า Open Era รายการแข่งขันที่สำคัญหลายรายการมีเงินรางวัล และเปิดให้ทั้งนักเทนนิสสมัครเล่นและนักเทนนิสอาชีพเข้าแข่งร่วมกัน กีฬาเทนนิสกลายเป็นธุรกิจกีฬาที่ทำเงินมหาศาล มีการก่อตั้ง WCT (World Championship Tennis) และ ATP (Association of Tennis Pros) ในปี 1967 และ 1972 ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 










 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายการ Grand Slam

ประกอบด้วยการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก 4 รายการคือ
1. Wimbledon
2. U.S. Open
3. Australian Open
4. French Open
ผู้ที่จะเป็นแชมป์แกรนด์สแลม ต้องได้ตำแหน่งชนะเลิศทั้ง 4 รายการภายในปีเดียวกัน

รายชื่อผู้ที่ได้แชมป์แกรนด์สแลม
1938  Don Budge (ชาย)
1953  Maureen Connolly (หญิง)
1962  Rod Laver (ชาย)
1969  Rod Laver (ชาย)
1970  Magaret Smith Court (หญิง)
1988  Steffi Graf (หญิง)


Wimbledon

ไดัชื่อว่าเป็นรายการที่ยิ่งใหญ่และมีเกียรติที่สุดของโลก จัดที่สนามของ The All England Lawn Tennis & Croquet Club ถนน Worple ชานเมืองของกรุงลอนดอนที่เรียกว่า Wimbledon เป็นการแข่งขันบนสนามหญ้า จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1877 มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันเพียง 22 คน และในปี 1922 ได้ย้ายมาจัดที่ถนน Church จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ในช่วงแรกเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น มาจนถึงปี 1968 จึงเปิดให้ระดับอาชีพเข้าแข่งขันได้ โดยการแข่งขันแบ่งเป็นประเภท ชายเดี่ยว, ชายคู่, หญิงเดี่ยว, หญิงคู่, คู่ผสม, เยาวชนชายเดี่ยว เยาวชนชายคู่ (อายุไม่เกิน18 ปี), เยาวชนหญิงเดี่ยว เยาวชนหญิงคู่ (อายุไม่เกิน 18 ปี), และสูงอายุประเภทคู่ (อายุ 35 และ 45 ปี)

ในปี 1968 รางวัลทั้งหมดของการแข่งขันตั้งไว้ที่ $63,000 สำหรับตำแหน่งชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวเป็นเงิน $4,800 และชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยวเป็น $1,800   ในปี 1996 จำนวนเงินรางวัลได้เพิ่มขึ้นเป็น $8,855,410 ส่วนตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวจะได้รับเงินถึง $609,160 และ $547,150 ตามลำดับ

ในปี 1972 ได้มีการใช้ระบบ Tie-Break เมื่อได้ 8-8 เกมส์ จนกระทั่งปี 1979 จึงเปลี่ยนให้เหมือนกับรายการแข่งขันอื่นๆ ทั่วโลกคือจะใช้ระบบ Tie-Breake เมื่อได้ 6 เกมส์เท่ากัน (6-6 เกมส์)  อย่างไรก็ตาม
Wimbledon ยังพยายามรักษาประเพณีเก่าๆไว้คือจะไม่มีการใช้ระบบ Tie-Break ในเซ็ทที่ 5 ของการแข่งขันประเภทชายเดี่ยว และในเซ็ทที่ 3 ของการแข่งขันประเภทหญิงเดี่ยว

ปี ประเภทชายเดี่ยว ประเภทหญิงเดี่ยว
1976 Bjorn Borg d. Ilie Natasae 6-4, 6-2, 9-7 Christ Evert d. Evonne Goolagong Cawley 6-0, 6-1
1977 Bjorn Borg d. Jimmy Connors 3-6, 6-2, 6-1, 5-7, 6-4 Virginia Wade d. Betty Stove 4-6, 6-3, 6-1
1978 Bjorn Borg d. Jimmy Connors 6-2, 6-2, 6-3 Martina Navratilova d. Chris Evert 2-6, 6-4, 7-5
1979 Bjorn Borg d. Roscoe Tanner 6-7 (4-7), 6-1, 3-6, 6-3, 6-4 Martina Navratilova d. Chris Evert Lloyd 6-4, 6-4
1980 Bjorn Borg d. John McEnroe 1-6, 7-5, 6-3, 6-7 (16-18), 8-6 Evonne Goolagong Cawley d. Chris Evert Lloyd 6-1, 7-6 (7-4)
1981 John McEnroe d. Bjorn Borg 4-6, 7-6 (7-1), 7-6 (7-4), 6-4 Chris Evert Lloyd d. Hanna Mandlikova 6-2, 6-2
1982 Jimmy Connors d. John McEnroe 3-6, 6-3, 6-7, 7-6, 6-4 Martina Navratilova d. Chris Evert Lloyd 6-1, 3-6, 6-2
1983 John McEnroe d. Chris Lewis 6-2, 6-2, 6-2 Martina Navratilova d. Andrea Jaeger 6-0, 6-3
1984 John McEnroe d. Jimmy Connors 6-1, 6-1, 6-2 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 7-6 (7-5), 6-2
1985 Boris Becker d. Kevin Curren 6-3, 6-7 (4-7), 7-6 (7-3), 6-4 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 4-6, 6-3, 6-2
1986 Boris Becker d. Ivan Lendl 6-4, 6-3, 7-5 Martina Navratilova d. Hana Mandlikova 7-6 (7-1), 6-3
1987 Pat Cash d. Ivan Lendl 7-6 (7-5), 6-2, 7-5 Martina Navratilova d. Steffi Graf 7-5, 6-3
1988 Stefan Edberg d. Boris Becker 4-6, 7-6 (7-2), 6-4, 6-2 Steffi Graf d. Martina Navratilova 5-7, 6-2, 6-1
1989 Boris Becker d. Stefan Edberg 6-0, 7-6 (7-1), 6-4 Steffi Graf d. Martina Navratilova 6-2, 6-7 (1-7), 6-1
1990 Stefan Edberg d. Boris Becker 6-2, 6-2, 3-6, 3-6, 6-4 Martina Navratilova d. Zina Garrison 6-4, 6-1
1991 Michael Stich d. Boris Becker 6-4, 7-6 (7-4), 6-4 Steffi Graf d. Gabriela Sabatini 6-4, 3-6, 8-6
1992 Andre Agassi d. Goran Ivanisevic 6-7, 6-4, 6-4, 1-6, 6-4 Steffi Graf d. Monica Seles 6-2, 6-1
1993 Pete Sampras d. Jim Courier 7-6, 7-6, 4-6, 6-3 Steffi Graf d. Jana Novotna 7-6 (8-6), 1-6, 6-4
1994 Pete Sampras d. Goran Ivanisevic 7-6 (7-2), 7- 6(7-5), 6-0 Cochita Martinez d. Martina Navratilova 6-4, 3-6, 6-3
1995 Pete Sampras d. Boris Becker 6-7 (7-5), 6-2, 6-4, 6-2 Steffi Graf d. Arantxa Sanchez Vicario 4-6, 6-1, 7-5
1996 Richard Krajicek d. Malivai Washington 6-3, 6-4, 6-3 Steffi Graf d. Arantxa Sanchez Vicario 6-3, 7-5
1997 Pete Sampras d. Cedric Pioline 6-4, 6-2, 6-4 Martina Hingis d. Jana Novotna 2-6, 6-3, 6-3
1998 Pete Sampras d. Goran Ivanisevic 6-7, 7-6, 6-4, 3-6, 6-2 Jana Novotna d. Nathalie Tauziat 6-4, 7-6
1999 Pete Sampras d. Andre Agassi 6-3, 6-4, 7-5 Lindsey Davenport d. Steffi Graf 6-4, 7-5
2000 Pete Sampras d. Patrick Rafter 6-7 (10-12), 7-6, 6-4, 6-2 Venus Williams d. Lindsey Davenport 6-3, 7-6 (7-3)


U.S. Open

เดิมเรียกรายการแข่งขันนี้ว่า United States Championships ซึ่งมีการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีที่ U.S. National Tennis Center  เมืองฟลัชชิ่งเมโดว์ (Flushing Meadow) รัฐนิวยอร์ค (New York)

ด้วยความช่วยเหลือของ Dr. James Dwight หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น "บิดาแห่งเทนนิสของประเทศอเมริกา (Father of American Tennis)" ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1881 ที่นิวพอร์ทคาสิโน (Newport Casino) รัฐโรดไอร์แลนด์ (Rhode Island)  ซึ่งมีประเภทชายอย่างเดียว และจัดติดต่อกันที่นี่จนถึงปี 1914

ในระหว่างปี 1887 - 1914  ประเภทชายคู่ การแข่งขันได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตๆและแข่งในสถานที่ต่างๆ แต่รอบชิงชนะเลิศจะกลับมาแข่งกันที่
นิวพอร์ทคาสิโน

รายการ U.S. National Championships ได้ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันอยู่หลายครั้ง เช่น ในปี 1915 การแข่งขันประเภทชายเดี่ยวและการชิงชนะเลิศประเภทชายคู่ ไดัย้ายไปจัดที่ West Side Tennis Club เมืองฟอร์เรสต์ฮิลล์ (Forest Hills)
รัฐนิวยอร์ค (New York), ในช่วงปี 1921 - 1923 จัดที่ Germantown Cricket Club รัฐฟิลลาเดลเฟีย (Philadelphia), ปี 1935 ประเภทชายและหญิงเดี่ยวได้จัดขึ้นที่ เมืองฟอร์เรสต์ฮิลล์ (Forest Hills) รัฐนิวยอร์ค ส่วนประเภทหญิงคู่นั้นมาจัดการแข่งขันที่ Longwood Cricket Club รัฐบอสตัน (Boston)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942 - 1945) ได้จัดการแข่งขันทั้ง 5 ประเภท (ชายเดี่ยว, ชายคู่, หญิงเดี่ยว, หญิงคู่และคู่ผสม) ที่ Forest Hills

ปี 1968 การแข่งขันเปิดโอกาสให้กับนักเทนนิสอาชีพและสมัครเล่น โดยมีรางวัลเป็นเงินทั้งหมด $100,000  ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวได้ $14,000 และ $6,000 สำหรับชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว ในปี 1996 เงินรางวัลของรายการนี้ได้สูงขึ้นถึง $10,893,890

หลังจากปี 1969 รายการการแข่งขันที่ Boston ซึ่งเป็นการแข่งขันของนักเทนนิสสมัครเล่นเท่านั้น ได้ถูกยกเลิก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความสับสนว่ามีการแข่งขัน U.S. Championships 2 ครั้งภายในปีเดียวกัน

พื้นสนามที่ใช้แข่งขันในช่วงแรกเป็นสนามหญ้า (Grass Court) จนกระทั่งปี 1975 ที่ Forest Hills ได้เปลี่ยนเป็นคอร์ทดิน (Clay Court) และในปี 1976 ที่ Flushing Meadow การแข่งขันใช้สนามพื้นแข็ง (Hard Court) โดยผิวหน้าเป็น Har-Tru และเปลี่ยนเป็น Deco-Turf ในปี 1978 จนกระทั่งทุกวันนี้

ปี ประเภทชายเดี่ยว ประเภทหญิงเดี่ยว
1976 Jimmy Connors d. Bjorn Borg 6-4, 3-6, 7-6, (11-9), 6-4 Christ Evert d. Evonne Goolagong Cawley 6-3, 6-0
1977 Guillemo Vilas d. Jimmy Connors 2-6, 6-3, 7-6 (7-4), 6-0 Christ Evert d. Wendy Turnbull 7-6, 6-2
1978 Jimmy Connors d. Bjorn Borg 6-4, 6-2, 6-2 Chris Evert d. Pam Shriver 7-5, 6-4
1979 John McEnroe d. Vitas Gerulaitis 7-5, 6-3, 6-3 Tracy Austin d. Chris Evert Lloyd 6-4, 6-3
1980 John McEnroe d. Bjorn Borg 7-6, 6-1, 6-7 (5-7), 5-7, 6-4 Chris Evert Lloyd d. Hanna Mandlikova 5-7, 6-1, 6-1
1981 John McEnroe d. Bjorn Borg 4-6, 6-2, 6-4, 6-3 Tracy Austin d. Martina Navratilova 1-6, 7-6 (7-4), 7-6 (7-1)
1982 Jimmy Connors d. Ivan Lendl 6-3, 6-2, 4-6, 6-4 Chris Evert Lloyd d. Hanna Mandlikova 6-3, 6-1
1983 Jimmy Connors d. Ivan Lendl 6-3, 6-7 (2-7), 7-5, 6-0 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 6-3, 6-1
1984 John McEnroe d. Ivan Lendl 6-3, 6-4, 6-1 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 4-6, 6-4, 6-4
1985 Ivan Lendl d. John McEnroe 7-6 (7-1), 6-3, 6-4 Hanna Mandlikova d. Martina Navratilova 7-6,1-6, 7-6
1986 Ivan Lendl d. Miloslav Mecir 6-4, 6-2, 6-0 Martina Navratilova d. Helena Sukova 6-3, 6-2
1987 Ivan Lendl d. Mats Wilander 6-7 (7-9) , 6-0, 7-6, 6-4 Martina Navratilova d. Steffi Graf 7-6 (7-4), 6-1
1988 Mats Wilander d.Ivan Lendl 6-4, 4-6, 6-3, 5-7, 6-4 Steffi Graf d. Gabriela Sabatini 6-3, 3-6, 6-1
1989 Boris Becker d. Ivan Lendl 7-6 (7-2), 1-6, 6-3, 7-6 (7-4) Steffi Graf d. Martina Navratilova 3-6, 7-5, 6-1
1990 Pete Sampras d. Andre Agassi 6-4, 6-3, 6-2 Gabriela Sabatini d. Steffi Graf 6-2, 7-6 (7-4)
1991 Stefan Edberg d. Jim Courier 6-2, 6-4, 6-0 Monica Seles d. Martina Navratilova 7-6 (7-1), 6-1
1992 Stefan Edberg d. Pete Sampras 3-6, 6-4, 7-6 (7-5), 6-2 Monica Seles d. Arantxa Sanchez Vicario 6-3, 6-3
1993 Pete Sampras d. Cedric Pioline 6-4, 6-4, 6-3 Steffi Graf d. Helena Sukova 6-3, 6-3
1994 Andre Agassi d. Michael Stich 6-1, 7-6 (7-5), 7-5 Arantxa Sanchez Vicario d. Steffi Graf 1-6, 7-6 (7-3), 6-4
1995 Pete Sampras d. Andre Agassi 6-4, 6-3, 4-6, 7-5 Steffi Graf d. Monica Seles 7-6 (8-6), 0-6, 6-3
1996 Pete Sampras d. Michael Chang 6-1, 6-4, 7-6 (7-3) Steffi Graf d. Monica Seles 7-5, 6-4
1997 Patrick Rafter d. G. Rusedski 6-3, 6-2, 4-6, 7-5 Martina Hingis d. Venus Williams 6-0, 6-4
1998 Patrick Rafter d. Mark Philippoussis 6-3, 3-6, 6-2, 6-0 Linsay Davenport d. Martina Hingis 6-3, 7-5
1999 Andre Agassi d. Todd Martin 6-4, 6-7, 6-7, 6-3, 6-2 Serena Williams d. Martina Hingis 6-3, 7-6
2000 Marat Safin d. Pete Sampras 6-4, 6-3, 6-3 Venus William d. Lindsay Davenport 6-4, 7-5



Australian Open

จัดแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1905 ที่ Warehousemen's Grounds เมืองเมลเบิร์น (Melbourne) เรียกว่า Australian Championship ซึ่งสถานที่จัดการแข่งขันได้เวียนไปจัดตามเมืองใหญ่ต่างๆ จนถึงปี 1972 จึงได้มาจัดที่ Melbourne เป็นประจำ

ในปี 1988 ศูนย์เทนนิสนานาชาติ (National Tennis Center) ได้มีสถานที่ตั้งอย่างถาวรอยู่ที่ Flinders Park เมือง Melbourne สนามเทนนิสที่ศูนย์นี้เป็นสนามพื้นแข็ง (Hard Court) มี Center Court ที่บรรจุผู้ชมได้ประมาณ 15,000 คนและสามารถเปิดปิดหลังคาได้ (Retractable-roof Stadium) เมื่อต้องการ  ดังนั้นในปีนี้ ประเพณีการแข่งบนคอร์ทหญ้า (Grass Court) จึงเปลี่ยนมาเป็นการแข่งขันบนสนามพื้นแข็ง

ในปี 1969  Australian Championship ได้เปลี่ยนเป็นรายการแข่งขันชิงเงินรางวัล  ทั้งนักเทนนิสสมัครเล่นและนักเทนนิสอาชีพสามารถเข้าแข่งได้ เงินรางวัลของปีนั้นประมาณ $25,00 ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวได้รับ $5,000 สำหรับชนะเลิศประเภทหญิงจะได้ $1,500 และในปี 1996 เงินรางวัลได้เพิ่มขึ้นเป็น $6,526,520

ปี ประเภทชายเดี่ยว ประเภทหญิงเดี่ยว
1976 Mark Edmondson d. John Newcombe 6-7, 6-3, 7-6, 6-1 Evonne Goolagong d. Renata Tomanova 6-2, 6-2
1977 (Jan) Roscoe Tanner d. Guillermo Vilas 6-3, 6-3, 6-3 (Jan) Kerry Melville Reid d. Dianne Fromholtz 7-5, 6-2
1977 (Dec) Vitas Gerulaitis d. John Lloyd 6-3, 7-6, 5-7, 3-6, 6-2 (Dec) Evonne Goolagong Cawley d. Helen Gourlay 6-3, 6-0
1978 Guillermo Vilas d. John Marks 6-4, 6-4, 3-6, 6-3 Chris O'Neil d. Betsy Nagelsen 6-3, 7-6
1979 Guillermo Vilas d. John Sadri 7-6 (7-4), 6-3, 6-2 Babara Jordan d. Sharon Walsh 6-3, 6-3
1980 Brian Teacher d. Kim Warwick 7-5, 7-6 (7-4), 6-3 Hanna Mandlikova d. Wendy Turnbull 6-0, 7-5
1981 Johan Kriek d. Steve Denton 6-2, 7-6 (7-1), 6-7 (1-7), 6-4 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 6-7 (4-7), 6-4, 7-5
1982 Johan Kriek d. Steve Denton 6-3, 6-3, 6-2 Chris Evert Lloyd d. Martina Navratilova 6-3, 2-6, 6-3
1983 Mats Wilander d. Ivan Lendl 6-1, 6-4, 6-4 Martina Navratilova d. Kathy Jordan 6-2, 7-6 (7-5)
1984 Mats Wilander d. Kevin Curren 6-7 (5-7), 6-4, 7-6, 6-2 Christ Evert Lloyd d. Helena Sukova 6-7 (4-7), 6-1, 6-3
1985 Stefan Edberg d. Mats Wilander 6-4, 6-3, 6-3 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 6-2, 4-6, 6-2
1986 Not held due to change in dates Not held due to change in dates
1987 Stefan Edberg d. Pat Cash 6-3, 6-4, 3-6, 5-7, 6-3 Hana Mandlikova d. Martina Navratilova 7-5, 7-6 (7-2)
1988 Mats Wilander d. Pat Cash 6-3, 6-7 (3-7), 3-6, 6-1. 8-6 Steffi Graf d. Christ Evert 6-1, 7-6 (7-3)
1989 Ivan Lendl d. Miloslav Mecir 6-2, 6-2, 6-2 Steffi Graf d. Helena Sukova 6-4, 6-4
1990 Ivan Lendl d. Stefan Edberg 4-6, 7-6 (7-3), 5-2 (retired) Steffi Graf d. Mary Joe Fernandez 6-3, 6-4
1991 Boris Becker d. Ivan Lendl 1-6, 6-4, 6-4, 6-4 Monica Seles d. Jana Novotna 5-7, 6-3, 6-1
1992 Jim Courier d. Stefan Edberg 6-3, 3-6, 6-4, 6-2 Monica Seles d. Mary Joe Fernandez 6-2, 6-3
1993 Jim Courier d. Stefan Edberg 6-2, 6-1, 2-6, 7-5 Monica Seles d. Steffi Graf 4-6, 6-3, 6-2
1994 Pete Sampras d. Todd Martin 7-6 (7-4), 6-4, 6-4 Steffi Graf d. Arantxa Sanchez Vicario 6-0, 6-2
1995 Andre Agassi d. Pete Sampras 4-6, 6-1, 7-6 (8-6), 6-4 Mary Pierce d. Arantxa Sanchez Vicario 6-3, 6-2
1996 Boris Becker d. Michael Chang 6-2, 6-4, 2-6 Monica Seles d. Anke Huber 6-4, 6-1
1997 Pete Sampras d. Carlos Moya 6-2, 6-3, 6-3 Martina Hingis d. Mary Pierce 6-2, 6-2
1998 Peter Korda d. Marcelo Rio 6-2, 6-2, 6-2 Martina Hingis d. Conchita Martinez 6-3, 6-3
1999 Yevgany Kafelnikov d. Thomas Enqvist 4-6, 6-0, 6-3, 7-6 Martina Hingis d. Amelie Mauresmo 6-2, 6-3
2000 Andre Agassi d. Yevgany Kafelnikov 3-6, 6-3, 6-2, 6-4 Lindsay Davenport d. Martina Hingis 6-1, 7-5


French Open

เป็นการแข่งขันบนคอร์ทดิน (Clay Court) จัดที่กรุงปารีส บางคนเรียกว่าเป็นการแข่งขันเทนนิสชิงแชมป์โลกสำหรับคอร์ทดิน (World Clay Championship) - คอร์ทดินเป็นพื้นผิวที่ประเทศในทวีปยุโรปนิยมเล่นกันมาก

เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 1891 สำหรับประเภทชายและปี 1897 จึงได้เริ่มการแข่งประเภทหญิง ซึ่งการแข่งขันได้จำกัดเฉพาะชาวฝรั่งเศสและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเท่านั้น จนกระทั่งปี 1925 จึงได้เปิดให้คนทั่วไปสมัครแข่งขันได้ และตั้งแต่นั้นมา French Open ก็เป็นการแข่งขันรายการหนึ่งใน Grand Slam

ในปี 1924 การแข่งขันนี้ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากการแข่งขันโอลิมปิคและจากการที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันตัดสินใจเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้ นักเทนนิสที่ไม่ใช่ชาวฝรั่งเศสคนแรกที่ชนะเลิศในรายการนี้ เป็นชาวอเมริกันชื่อ Vinnie Richards และ Howard Kinsey ได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทชายคู่ (ปี 1926)   นักเทนนิสชาวฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (ในช่วงที่ให้เฉพาะชาวฝรั่งเศสแข่งขัน) คือ Max Decugis ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวถึง 8 ครั้ง (1903-1904, 1907-1909, 1912-1914) และ Cecilia Masson ชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว 6 ครั้ง (1897-1900, 1902-1903)

ในปี 1925 ผู้ที่จะได้ตำแหน่ง Grand Slam ก็ใกล้เป็นจริง เมื่อ Jack Crawford ชนะเลิศถึง 3 รายการคือ Wimbledon, Australian Open, และ French Open หลังจากนั้น 3 ปี คือปี 1928 การแข่งขันได้ถูกจัดขึ้นที่ Roland Garros จนกระทั่งทุกวันนี้

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีการแข่งขัน Wimbledon และ Australian Open แต่ในปี 1942 นาซีได้อนุญาตให้มีการแข่งขัน French Open ได้และจำกัดเฉพาะนักเทนนิสชาวฝรั่งเศสเท่านั้น ข้อจำกัดนี้ใช้มาจนกระทั่งปีแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 1946)

ในปี 1968 French Open เป็นรายการแรกที่ให้นักเทนนิสสมัครเล่นและอาชีพทำการแข่งขันด้วยกัน เพื่อชิงเงินรางวัล $25,000 เป็นรางวัลชนะเลิศสำหรับประเภทชาย $3,000 และประเภทหญิง $1,000  ในปี 1996 เงินรางวัลของรายการนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น $10,707,560 โดยแบ่งเป็นรางวัลของประเภทชาย $690,400 และของประเภทหญิง $644,000 ตามลำดับ

เซ็นเดอร์คอ์ทที่ Roland Garros สามารถบรรจุคนดูได้ 17,000 คนและในปี 1995 ได้เปิดใช้คอร์ท Suzanne Lenglen (อยู่ข้างเซ็นเตอร์คอร์ท) ซึ่งสามารถบรรจุคนดูได้ 15,000 คน

ปี 1973 ได้เริ่มใช้ระบบ Tie-Breaker ในการแข่งขัน ถือว่าเป็นรายการสุดท้ายใน Grand Slam ที่นำระบบนี้มาใช้

ปี ประเภทชายเดี่ยว ประเภทหญิงเดี่ยว
1976 Adriano Panatta d. Harold Solomon 6-1, 6-4, 4-6, 7-6 (7-3) Sue Barker d. Renata Tomanova 6-2, 0-6, 6-2
1977 Guillermo Vilas d. Brian Gottfried 6-0, 6-3, 6-0 Mima Jausovec d. Florenta Mihai 6-2, 6-7, 6-1
1978 Bjorn Borg d. Guillermo Vilas 6-1, 6-1, 6-3 Virginia Rucizi d. Mima Jausovec 6-2, 6-2
1979 Bjorn Borg d. Victor Pecci 6-3, 6-1, 6-7 (6-8), 6-4 Christ Evert Lloyd d. Wendy Turnbull 6-2, 6-0
1980 Bjorn Borg d. Vitas Gerulaitis 6-4, 6-1, 6-2 Christ Evert Lloyd d. Virginia Rucizi 6-0, 6-3
1981 Bjorn Borg d. Ivan Lendl 6-1, 4-6, 6-2, 3-6, 6-1 Hana Mandlikova d. Sylvia Hanika 6-2, 6-4
1982 Mats Wilander d.Guillermo Vilas 1-6, 7-6 (8-6), 6-0, 6-4 Martina Navratilova d. Andrea Jaeger 7-6 (8-6), 6-1
1983 Yannick Noah d. Mats Wilander 6-2, 7-5, 7-6 (7-3) Christ Evert Lloyd d. Mima Jausovec 6-1, 6-2
1984 Ivan Lendl d. John McEnroe 3-6, 2-6, 6-4, 7-5, 7-5 Martina Navratilova d. Christ Evert Lloyd 6-3, 6-1
1985 Mats Wilander d. Ivan Lendl 3-6, 6-4, 6-2, 6-2 Christ Evert Lloyd d. Martina Navratilova 6-3, 6-7 (4-7), 7-5
1986 Ivan Lendl d. Mikael Pernfors 6-3, 6-2, 6-4 Christ Evert Lloyd d. Martina Navratilova 2-6, 6-3, 6-3
1987 Ivan Lendl d. Mats Wilander 7-5, 6-2, 3-6, 7-6 (7-3) Steffi Graf d. Martina Navratilova 6-4, 4-6, 8-6
1988 Mats Wilander d. Henri Leconte 7-5, 6-2, 6-1 Steffi Graf d. Natalia Zvereva 6-0, 6-0
1989 Michael Chang d. Stefan Edberg 6-1, 3-6, 4-6, 6-4, 6-2 Arantxa Sanchez Vicario d. Steffi Graf 7-6 (8-6), 3-6, 7-5
1990 Andres Gomez d. Andre Agassi 6-3, 2-6, 6-4, 6-4 Monica Seles d. Steffi Graf 7-6 (8-6), 6-4
1991 Jim Courier d. Andre Agassi 3-6, 6-4, 2-6, 6-1, 6-4 Monica Seles d. Arantxa Sanchez Vicario 6-3, 6-4
1992 Jim Courier d. Peter Korda 7-5, 6-2, 6-1 Monica Seles d. Steffi Graf 6-2, 3-6, 10-8
1993 Sergi Bruguera d. Jim Courier 6-4, 2-6, 6-2, 3-6, 6-3 Monica Seles d. Mary Joe Fernandez 4-6, 6-2, 6-4
1994 Sergi Bruguera d. Alberto Berasategui 6-3, 7-5, 2-6, 6-1 Arantxa Sanchez Vicario d. Mary Pierce 6-4, 6-4
1995 Thomas Muster d. Michael Chang 7-5, 6-2, 6-4 Steffi Graf d. Arantxa Sanchez Vicario 7-5, 4-6, 6-0
1996 Yevgany Kafelnikov d. Michael Stich 7-6, 7-5, 7-6 (7-4) Steffi Graf d. Arantxa Sanchez Vicario 6-3, 6-7 (4-7), 10-8
1997 Gustavo Kuerten d. Sergi Bruguera 6-3, 6-4, 6-2 Iva Majoli d. Martina Hingis 6-4, 6-2
1998 Carlos Moya d. Alex Corretja 6-3, 7-5, 6-3 Arantxa Sanchez d. Monica Seles 7-6, -6, 6-2
1999 Andre Agassi d. Andrei Medvedev 1-6, 2-6, 6-4, 6-3, 6-4 Steffi Graf d. Martina Hingis 4-6, 7-5, 6-2
2000 Gustavo Kuerten d. Magnus Norman 6-2, 6-3, 2-6, 7-6 Mary Pierce d. Conchita Martinez 6-2, 7-5

สถิติของ Roland Garros

 ประเภทชายเดี่ยว    
จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ ชื่อ ปี
ุ6 Bjorn Borg 1974, 1974, 1978, 1979, 1980, 1981
4 Henri Cochet 1926, 1928, 1930, 1932
3 Rene Lacoste 1925, 1927, 1929
3 Mats Wilander 1982, 1985, 1988
3 Ivan Lendl 1984, 1986, 1987

 ประเภทหญิงเดี่ยว    
จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ ชื่อ ปี
7 Chris Evert Lloyd 1974, 1975, 1979, 1980, 1983, 1985, 1986
ุ6 Steffi graf 1987, 1988, 1993, 1995, 1996, 1999
5 Magaret Smith Court 1962, 1964, 1969, 1970, 1973
4 Helen Wills Moody 1928, 1929, 1930, 1932
3 Hilde Sperling 1935, 1936, 1937
3 Monica Seles 1990, 1991, 1992
3 Arantxa Sanchez 1989, 1994, 1998

ประเภทชายเดี่ยว - อายุน้อยที่สุดที่ชนะเลิศ
ปี ชื่อ อายุ
1989 Michael Chang 17 ปี 3 เดือน
1982 Mats Wilander 17 ปี 9 เดือน
1974 Bjorn Borg 18 ปี
1953 Ken Rosewall 18 ปี 7 เดือน

ประเภทหญิงเดี่ยว - อายุน้อยที่สุดที่ชนะเลิศ
ปี ชื่อ อายุ
1989 Arantxa Sanchez 17 ปี 5 เดือน
1990 Monica Seles 17 ปี 6 เดือน
1987 Steffi Gaf 17 ปี 11 เดือน
1959 Christine Truman 18 ปี 7 เดือน

 

 

Davis Cup

เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติประเภททีมชายที่ถือว่าเป็นตัวแทนของประเทศ จึงเป็นการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุด จัดครั้งแรกในปี 1900 ที่สโมสรคริกเกตลองวูดด์ (Longwood Cricket Club) ที่บอสตัน โดยการริเริ่มของ ด็อกเตอร์ ดไว้ทจ์ ฟิลเล่ย์ เดวิส (Dr. Dwight Filley Davis) ด็อกเตอร์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด นักเทนนิสถนัดซ้ายเจ้าตำรับการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิสต์ (American Twist) ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการแข่งขันระหว่างนักเทนนิสอเมริกันกับอังกฤษในประเภททีม เพื่อแลกเปลี่ยนมาตรฐานการเล่น และหาทางพัฒนาฝีมือนักเทนนิสอเมริกัน

เสาร์แรกของเดือนสิงหาคม ปี 1900 ทีมเทนนิสอังกฤษ (Arthur Gore, Ernest Black, และ Herbert Roper Barrett) ก็เดินทางมากับเรือเอส.เอ.แคมปาเนีย ถึงกรุงนิวยอร์ก เพื่อแข่งขันกับทีมอเมริกัน ( Holcombe Ward, Malcolm Whitman, และ Dwight Davis) ในสัปดาห์ และก่อนหน้าที่จะทำการแข่งขัน ทีมเทนนิสอังกฤษได้ไปชมน้ำตกไนแองการา (Niagara Fall) ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาด้วย ทำให้ฝึกซ้อมได้ไม่เท่าที่ควร

การแข่งขันทั้งหมดมี 5 แมตช์ เป็นการแข่งขันประเภทชายเดี่ยว 4 แมตช์ ระหว่างมือ 1 กับมือ 2 ของทั้งสองฝ่าย วันต่อมาจึงเป็นการแข่งขันประเภทคู่และวันสุดท้ายของการแข่งขันจะเป็นการเล่นประเภทเดี่ยวสลับมือ ทุกแมตช์แข่งขันระบบ 3 ใน 5 เซ็ต ในระหว่างการแข่งขัน นักเทนนิสอังกฤษพบว่าคอร์ทหญ้าที่ใช้แข่ง หญ้ายาวและนุ่มกว่าที่ประเทศอังกฤษ และที่สำคัญกว่านั้นคือทีมอเมริกันแข่งแกร่งกว่าที่คาดไว้ ผลการแข่งขันปรากฏว่านักเทนนิสอเมริกันเป็นฝ่ายชนะอย่างงดงามทุกแมตช์ใน 2 วันแรกของการแข่งขัน (Whitman d. Gore, Davis d. Black, และ Ward + Davis d. Black + Barrett) ชนะไปอย่างเด็ดขาด 3-0 การแข่งขันในวันที่สามจึงไม่จำเป็น

ปี1901 ไม่มีการแข่งขัน

ปี1902 ได้จัดการแข่งขันขึ้นที่ Crescent Athletic Club ใน Brooklyn รัฐนิวยอร์ค อเมริกันเป็นผู้ชนะอีกครั้งอย่างหวุดหวิด 3-2

ปี 1903 ยังคงมีแค่ประเทศอเมริกาและอังกฤษที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งกลับมาจัดที่ Longwood ในบอสตัน และคราวนี้อังกฤษเป็นผู้ได้ครองถ้วยด้วยชัยชนะ 4-1

หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกากับอังกฤษก็ได้ถูกขอร้องให้เปิดกว้างเป็นการแข่งขันนานาชาติ ซึ่งก็ได้รับการตกลงจากประเทศทั้งสอง กฎการแข่งขันจึงถูกกำหนดขึ้น โดยชาติที่ครองตำแหน่งชนะเลิศได้อภิสิทธิ์ยืนรออยู่ในรอบชิงชนะเลิศ ส่วนชาติอื่น ๆ ต้องแข่งขันกันเองก่อนเพื่อแย่งความเป็นผู้ท้าชิงโดยใช้ระบบการแข่งขันเดิมคือ 5 แมตช์ จากเดี่ยวมือ 1, เดี่ยวมือ 2, ประเภทคู่ และปิดท้ายด้ายเดี่ยวสลับมือ แต่ละครั้งที่พบกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องเดินทางไปแข่งขันกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นประเทศเจ้าภาพ ส่วนผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันป้องกันตำแหน่งของตนเองทุกครั้ง

ปี 1904 เป็นปีแรกของการแข่งขันเทนนิสนานาชาติชิงชนะเลิศประเภททีม เบลเยี่ยมชนะฝรั่งเศส 3-2 เป็นผู้ท้าชิงอังกฤษ และพ่ายอังกฤษไป 5-0 ในการแข่งขันที่วิมเบิลดัน

ปี 1907 ออสเตรเลียเป็นชาติแรกจากตะวันออก (ในเวลานั้นใช้ชื่อว่า Australasia) ที่เข้าไปท้าชิงกับอังกฤษ หลังจากพิชิตสหรัฐอเมริกามาอย่างหวุดหวิด แต่ก็แพ้อังกฤษที่วิมเบิลดันไป 3-2

ปี 1923 มี 17 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน จึงต้องแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 โซน คือโซนยุโรปและโซนอเมริกา ปี 1955 ได้เพิ่มโซนตะวันออก (ได้แก่ประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ต่อมาในปี 1966 โซนยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็น โซนยุโรป เอ. และโซนยุโรป บี . และปี 1967โซนอเมริกาก็ต้องถูกแยกเป็นโซนอเมริกาเหนือและโซนอเมริกาใต้

ปี 1973 นักเทนนิสอาชีพสามารถร่วมทีมเข้าแข่งขันรายการเกียรติยศนี้ได้ และในปีนั้นทีมออสเตรเลีย ซึ่งประกอบไปด้วยนักเทนนิสอาชีพทั้งทีม (Rod Lever, Ken Rosewall, John Newcombe, Mal Anderson) ชนะทีมอเมริกัน 5-0 ได้ตำแหน่งชนะเลิศ

ปี 1972 สหพันธ์เทนนิสนานาชาติได้ใช้ระบบการแข่งขันใหม่ โดยผู้ครองตำแหน่งซึ่งเดิมได้สิทธิ์ยืนรอในรอบชิงชนะเลิศนั้น ต้องลงแข่งขันตั้งแต่รอบแรก ๆ เช่นทีมอื่น ๆ เพราะกว่าที่ผู้ท้าชิงจะเข้าถึงรอบชิงถ้วยได้นั้น ต้องผ่านการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง และต้องเดินทางแข่งขันเกือบตลอดปี จำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมีมากกว่า 50 ประเทศ ผลการแข่งขัน ทีมอเมริกันป้องกันตำแหน่งได้ โดยชนะทีมโรมาเนียเจ้าบ้านด้วยสกอร์ 3-2

ปี 1981 ระบบการแข่งขันได้ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ด้วยการให้สิทธิ์ทีมที่สามารถเข้าชิงถ้วยได้เพียง 16 ทีมเท่านั้นและเรียกว่ากลุ่ม 16 ทีมนี้ว่า "เวิลด์กรุ๊ป (World Group)"  โดยพิจารณาจากทีมที่ได้เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันปี 1980 ส่วนทีมที่เหลือจะต้องแข่งขันภายในโซนตัวเองก่อนคือ โซนตะวันออก (เอเชีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์) , โซนอเมริกา (โซนอเมริกาเหนือและโซนอเมริกาใต้), โซนยุโรป เอ. และโซนยุโรป บี. รวม 4 โซน ผู้ชนะเลิศภายในแต่ละโซนรวม 4 ทีม จะได้เข้าแทนที่ทีมที่แพ้ในการแข่งขันระหว่างทีมตกรอบแรกเวิลด์กรุ๊ป 4 ทีม ในการแข่งขันปีถัดไป และในปีเดียวกันนี้ ก็มีการให้เงินรางวัลในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทนิปปอนอีเล็คทริค (NECี) แห่งญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลในการแข่งขันทั้งหมดกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลการแข่งขันในรอบชิงของ World Group ซึ่งแข่งกันที่รัฐ Cincinati ทีมอเมริกันเอาชนะทีมอาร์เจนตินา 3-1

ปี 1988 ได้มีการจำกัดจำนวนทีมในแต่ละโซน ประมาณ 5-7 ประเทศตามความเหมาะสม และทีมอื่น ๆ ในแต่ละโซนจะต้องแข่งขันในกรุ๊ป 2 ของโซนก่อน ทีมชนะเลิศในกรุ๊ป 2 จึงจะมีสิทธิ์เลื่อนฐานะขึ้นอยู่ในกรุ๊ป 1 ของปีต่อไป ส่วนทีมที่ตกรอบแรกในกรุ๊ป 1 ก็จะตกไปอยู่ในกรุ๊ป 2 เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนรอบและประหยัดงบประมาณในการจัดการแข่งขัน

ปี 1989 นำระบบไทเบรกมาใช้ในการแข่งขันเดวิสคัพ ยกเว้นในเซ็ตสุดท้าย ในปีเดียวกันนี้ ได้กำหนดให้ 2 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันกรุ๊ป 1 ของทุกโซนรวม 8 ทีม ประกบคู่แข่งขันกับทีมที่ตกรอบแรกจากเวิลด์กรุ๊ป 8 ทีม เพื่อแย่งชิงกันเข้าสู่เวิลด์กรุ๊ปในการแข่งขันปีต่อไป

สมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) ได้ให้ความสำคัญกับเดวิสคัพ ด้วยการจัดปฏิทินการแข่งขันเทนนิสอาชีพไม่ให้ตรงกับการแข่งเดวิสคัพ ซึ่งมีกำหนดแน่นอนในแต่ละปี ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเทนนิสอาชีพทุกคนเข้าร่วมทีมเดวิสคัพ

ปัจจุบันการแข่งเดวิสคัพ ถือเป็นการแข่งขันเทนนิสระหว่างชาติชิงแชมป์โลกอย่างแท้จริง ทีมที่ครองตำแหน่งชนะเลิศ คือเกียรติของประเทศที่มีทีมเทนนิสที่ดีที่สุดในโลก การแข่งขันที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน และอย่างมากไม่เกิน 4 คน ประกอบด้วยประเภทเดี่ยว 2 คู่ในวันแรก ประเภทคู่ 1 คู่ในวันที่สอง และประเภทเดี่ยวสลับมือในวันสุดท้าย แต่ละครั้งต้องพร้อมที่จะเผชิญกับทุกสภาพสนาม ต้องแข่งกับฝ่ายตรงข้ามในถิ่นของคู่ต่อสู้ (Home-Court Advantage) และต้องเล่นกันถึง 3 ใน 5 เซ็ต ดังนั้นการได้ร่วมทีมเดวิสคัพจึงเป็นตัวแทนของชาติอันมีเกียรติ เพื่อรับการพิสูจน์ว่ามาตรฐานการเทนนิสของประเทศของตนเป็นอย่างไร

ถ้วย Davis

ถูกสร้างด้วยเงินส่วนตัวกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐของ Dwight Filley Davis (ซึ่งในปัจจุบันมีราคามากกว่า $200,000 US.) เป็นถ้วยสูงกว่า 1 ฟุต มี 2 ส่วนคือส่วนบนเป็นถ้วยเงินเคลือบทองคำไว้ภายใน ออกแบบโดย Rowland Rhodes และบริษัท Shreve, Crump & Low เป็นผู้สร้าง ส่วนฐานเป็นไม้ ใช้เป็นที่สลักชื่อผู้เล่นของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ต่อมาต้องมีการเพิ่มเติมส่วนฐาน เพื่อให้พอกับการจารึกรายชื่อ ถือวา่เป็นถ้วยรางวัลที่สวยงามและทรงคุณค่ามากที่สุดใบหนึ่ง

          World Group - Final Round
1981 United States d. Argentina 3-1 (Cincinati)
1982 United States d. France 4-1 (Grenoble)
1983 Australia d. Sweden 3-2 (Melbourne)
1984 Sweden d. United States 4-1 (Goteborg, Sweden)
1985 Sweden d. Germany 3-2 (Munich)
1986 Australia d. Sweden 3-2 (Melbourne)
1987 Sweden d. India 5-0 (Goteborg, Sweden)
1988 Germany d. Sweden 4-1 (Goteborg, Sweden)
1989 Germany d. Sweden 3-2 (Stuttgart, Germany)
1990 United States d. Australia 3-2 (St. Petersburg, Florida)
1991 France d. United States 3-1 (Lyon)
1992 United States d. Switzerland 3-1 (Fort Worth, Texas)
1993 Germany d. Australia 4-1 (Dusseldorf)
1994 Sweden d. Russia 4-1 (Moscow)
1995 United States d. Russia 3-2 (Moscow)
1996 France d. Sweden 3-2 (Malmo, Sweden)
1997 Sweden d. United States 5-0 (Goteborg, Sweden)
1998 Sweden d. Italy 4-1 (Milan, Italy)
1999 Australia d. France 3-2 (Nice)
2000 Spain d. Australia 3-1 (Barcelona, Spain)

 

Federation Cup

เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติประเภททีมหญิง เทีบบเท่ากับการแข่ง Davis Cup ของประเภททีมชาย เริ่มต้นขึ้นในปี 1963 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ - ITF (International Tennis Federation) โดยจัดขึ้นที่ Queen's Club กรุงลอนดอน มี 16 ประเทศส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ผลการแข่งขัน ทีมอเมริกันชนะทีมออสเตรเลียน 2-1ได้ตำแหน่งชนะเลิศ (Billie Jean King คู่กับ Darlene Hard ชนะ Magaret Court คู่กับ Lesley Turner ในการตัดสินแต้มสุดท้าย 3-6, 13-11, 6-3) ต่อมาการแข่งขันได้เวียนไปตามที่ต่างๆและใช้เวลาทำการแข่งขัน 1 สัปดาห์  การแข่งขันประกอบด้วยประเภทเดี่ยว 2 คู่ ถ้าได้แต้มเสมอกันต้องตัดสินด้วยการแข่งประเภทคู่ และการแข่งขันของแต่ละคู่จะต้องเสร็จภายในวันเดียว

ต่อมาในปี 1995 ชื่อของการแข่งขันรายการนี้ได้ถูกตัดให้สั้นลงเหลือเพียงแค่ Fed Cup และรูปแบบการแข่งขันก็ได้มีการปรับปรุงให้เหมือนกับ Davis Cup คือการแข่งขันจะจัดในลักษณะทีมเหย้าทีมเยือน ใช้เวลาแข่งขัน 3 วัน ประกอบด้วยประเภทเดี่ยว 4 คู่และประเภทคู่ 1 คู่  โดยในวันแรกจะแข่งประเภทเดี่ยว 2 คู่ วันที่ 2 แข่งประเภทคู่และวันสุดท้ายจะเป็นการแข่งประเภทเดี่ยวสลับมือ

Fed Cup เป็นการแข่งขันของนักเทนนิสสมัครเล่นจนถึงปี 1969 จึงเปิดโอกาสให้นักเทนนิสอาชีพเข้าร่วมทีมได้และในปี 1976 นอกจากถ้วยชนะเลิศแล้ว ทีมที่เข้าแข่งขันยังได้รับเงินรางวัลอีกด้วย

1976 United States d. Australia 2-1 (Philadelphia, USA)
1977 United States d. Australia 2-1 (Eastbourne, England)
1978 United States d. Australia 2-1 (Melbourne, Australia)
1979 United States d. Australia 3-0 (Madrid, Spain)
1980 United States d. Australia 3-0 (Berlin, Germany)
1981 United States d. Great Britain 3-0 (Tokyo, Japan)
1982 United States d. Germany 3-0 (Santa Clara, Cal.)
1983 Czechoslovakia d. Germany 2-1 (Zurich, Switzerland)
1984 Czechoslovakia d. Australia 2-1 (Sao Paulo, Brazil)
1985 Czechoslovakia d. United States 2-1 (Nagoya, Japan)
1986 United States d. Czechoslovakia 3-0 (Prague, Czechoslovakia)
1987 Germany d. United States 2-1 (West Vancouver, British Columbia)
1988 Czechoslovakia d. U.S.S.R. 2-1 (Melbourne, Australia)
1989 United States d. Spain 3-0 (Tokyo, Japan)
1990 United States d. U.S.S.R. 2-1 (Atlanta, USA)
1991 Spain d. United States 2-1 (Nottingham, England)
1992 Germany d. Spain 2-1 (Frankfurt, Germany)
1993 Spain d. Australia 3-0 (Frankfurt, Germany)
1994 Spain d. United States 3-0 (Frankfurt, Germany)
1995 Spain d. United States 3-2 (Valencia)
1996 United States d. Spain 5-0 (Atlantic City, USA)
1997 France d. Netherlands 4-1 (Den Bosch)
1998 Spain d. Switzerland 3-2 (Geneva)
1999 United States d. Russia 4-1 (Stanford, California)
2000 United States d. Spain 5-0 (Las Vegas, USA)


Hopman Cup

เป็นการแข่งขันประเภททีมคู่ผสมที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นเกียรติแก่แฮรี่ ฮอปแมน (Harry Hopman) กัปตันทีมเดวิสคัพของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้ทีมออสเตรเลียได้ครองถ้วยชนะเลิศถึง 16 ครั้งในระหว่างปี 1939 - 1967 จัดครั้งแรกขึ้นที่ Perth ประเทศออสเตรเลีย  Hopman Cup เป็นรายการแข่งขันสาธิตอยู่ถืง 8 ปี ก่อนที่ ITF จะรับรอง รูปแบบของการแข่งขันประกอบด้วยประเภทชายเดี่ยว 1 คู่และประเภทหญิงเดี่ยว 1 คู่ ถ้าคะเเนนเสมอกันต้องตัดสินกันด้วยประเภทคู่ผสม  การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกจัดขึ้นในปี 1997 โดยทีมอเมริกัน (Chanda Rubin และ Justin Gimelstob) ชนะทีมแอฟริกาใต้ (Amanda Coetzer และ Wayne Ferreira) 2-1

ในการแข่งขัน Hopman Cup 2000 ระหว่างวันที่ 1-8 มกราคม 2000 ที่ Perth ประเทศออสเตรเลีย Paul McNamee อดีตยอดนักเทนนิสชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นผู้จัดและเป็น Tournament Director ของ Hopman Cup ได้เชิญ ภราดร ศรีชาพันธุ์และแทมมารีน ธนสุกานต์ 2 ยอดนักเทนนิสของไทย ให้เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ในนามของประเทศไทย

ในรอบแรกของการแข่งขัน ซึ่งเป็นแบบแพ้คัดออก (1 มค. 2000) ทีมไทยชนะทีมญี่ปุ่น 2-1 (Tamarine Tanasugarn d. Ai Sugiyama 6-1, 6-3; Paradorn Srichaphan d. Takao Suzuki 6-3 7-6 (7-2); และ Tanasugarn/Srichaphan lost to Sugiyama/Suzuki 6-3 6-4) ด้วยชัยชนะในครั้งนี้ทำให้ทีมไทยเป็นหนึ่งใน 8 ทีมที่ได้เข้าเล่นในรอบชิงชนะเลิศ (Thailand, Australia, Slovak Republic, U.S.A., South Aferica, Sweden และ Begium)

การแข่งขันรอบ Main Draw ในแต่ละสายจะเป็นแบบพบกันหมด รอบแรก ไทยต้องพบกับอดีตทีมแชมป์ Australia ซึ่งเทียบกันแล้วทีมไทยเป็นทีมรองบ่อนไม่มีทางที่จะเอาชนะได้ อย่างไรก็ตามได้มีการพลิกล็อคชนิดที่เรียกว่าล็อคถล่ม เมื่อคู่ของภราดรกับแทมมี่ซึ่งเป็นแต้มตัดสินสามารถชนะโดคิคกับฟิลิปป์พูซิส ทำให้ทีมไทยชนะ 2-1 (Tamarine Tanasugan d. Jelena Dokic 6-1 6-4, Paradon Srichaphan lost to Mark Philippoussis 1-6 4-6 และ Tanasukarn/Srichaphan d. Dokic/Philippoussis 3-6 6-3 6-4)

ในรอบต่อมา ทีมไทยก็ได้สมญานามว่า Gian Killer เมื่อเอาชนะทีม Slovak Republic ซึ่งมีศักดิ์ศรีเป็นแชมป์ Hopman Cup 1998 ด้วยสกอร์ 3-0 (Tamarine Tanasugarn d. Henrieta Nagyova 6-2 2-6 6-1, Paradorn Srichaphan d. Karol Kucera 4-6 7-6 6-2 และ Tanasukarn/Srichaphan d. Nagyova/Kucera 6-0 6-0 default - Nagyova มีอาการบาดเจ็บ)

รอบสาม ทีมไทยแพ้ทีมออสเตรีย 2-1 อย่างไรก็ตามทีมไทยได้มีคะแนนเป็นที่หนึ่งในสาย ได้เข้าไปชิงชนะเลิศกับ South Aferica (Tamarine Tanasugan d. Barbara Schett 6-7 (2-7) 6-3 6-3, Paradon Srichaphan lost to Stefan Koubek 3-6 1-6 และ Tanasukarn/Srichaphan lost to Schett/Koubek 8/7)

ในรอบชิงชนะเลิศ ทีมไทยได้แค่เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศ เมื่อไปพ่าย South Aferica 2-1 (Tamarine Tanasugarn lost to Amanda Coetzer 3-6 6-4 6-4, Paradon Srichaphan lost to Wayne Ferreira 7-6 6-3 และ Tanasukarn/Srichaphan lost to Coetzet/Srichaphan 1-8 - Pro Set)

อย่างไรก็ตาม ทีมไทยได้สร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักในวงการเทนนิสโลก เมึ่อเป็นทีมจากเอเซียทีมแรกที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศ และในประวัติศาสตร์ของ Hopman Cup ถือเป็นครั้งที่สอง ที่ทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศผ่านมาจากรอบคัดเลือก (ครั้งแรกคือทีม Slovak Republic - Karol Kucera และ Karina Habsucova ปี 1998) และต้องขอบคุณยอดนักเทนนิสไทยทั้งสอง แทมมารีน ธนสุกานต์และภราดร ศรีชาพันธุ์