ความเป็นมาของกีฬาเทนนิสในประเทศไทย

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามาสู่ประเทศไทยและในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มเล่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวอังกฤษและอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ในขณะนั้นคนไทยยังไม่สนใจการเล่นเทนนิสมากนัก คงเล่นกันในหมู่คนต่างชาติ จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2460 ประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้น จึงมีการตั้งสโมสรเทนนิสขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรกที่พระราชอุทยานสราญรมย์ มีสมาชิกครั้งแรกเพียง 10  คน ต่อมาเปลี่ยนสถานที่ไปเล่นที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แต่ก็ล้มเลิกไปในที่สุด และมีเอกชนตั้งสโมสรลอนเทนนิสขึ้นหลายแห่ง เช่น บริษัทบอร์เนียว บริษัท บอมเบย์เบอร์มา ที่บ้านมิสเตอร์คอลลิน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศสำหรับในหมู่คนไทยเช่นที่กระทรวงเกษตร สโมสรโรงเรียนนายเรือ

ในปี พ.ศ. 2469  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสโมสรเทนนิส 12 สโมสรคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรรถไฟ สโมสรกีฬาอังกฤษ สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์ สโมสรนครสวรรค์ สโมสรสีลม สโมสรลำปาง สโมสรนวรัฐ สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา สโมสรสงขลา สโมสรกลาโหมและสโมสรภูเก็ต ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมกันเป็นครั้งแรกที่วังกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในที่ประชุมก็ได้ลงมติเอกฉันท์ให้ตั้ง "ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกของลอนเทนนิสสมาคมเป็นคนแรก พร้อมทั้งได้ออกกฎข้อบังคับของสมาคมฯขึ้นใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ซึ่งได้ใช้เป็นบรรทัดฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้

คณะกรรมการชุดแรกของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยคือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงเป็นนายกสมาคมฯ นายอาร์ดี. เครก เป็นเลขานุการกิติมศักดิ์ พระยาสุพรรณสมบัติเป็นเหรัญญิกกิติมศักดิ์ ส่วนสโมสรที่อยู่ในเครือที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการคือ
1. ราชกรีฑาสโมสร
2. สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์
3. สโมสรกีฬาอังกฤษ
4. สโมสรสีลม
5. สโมสรกลาโหม

พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงมีส่วนสำคัญในการสร้างลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2482 เป็นเวลาถึง 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 พลเอกหลวงพรหมโยธี ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม  ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 พ.ต.ท. ขุนศรีวรากร ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม และในปี พ.ศ. 2490 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ ทรงเป็นนายกสมาคม

ในปลายปี พ.ศ. 2470 ทางสมาคมฯได้จัดการแข่งขันลอนเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกที่สโมสรสีลมและผลการแข่งขันมีดังนี้

ชายเดี่ยว

ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ

หลวงอนุสาสน์ยันตรกรรม
พระอินทปัญญา (พระยาลัดพลี ธรรมประคัลภ์)
หญิงเดี่ยว ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นางเมริก เฮ้าส์
นางสาวสมัย บุญยรัตน์พันธ์ (คุณหญิงพิธอำพล)
ชายคู่ ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
หลวงอนุสาสน์ยันตรกรรม และ หลวงวิรัช
พระยาทรงสุรรัชฏ์ และนายเลี่ยม มูลเลอร์
หญิงคู่ ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นางเมริก เฮ้าส์ และนางเครก
นางบิว และนางแปตสโตน
คู่ผสม ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นางเมริก เฮ้าส์ และนายบัลชาด
นางสาวสมัย บุญยรัตน์พันธ์ และหลวงอนุสาสน์ยันตรกรรม
สโมสร ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
สโมสรสีลม
สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  พระองค์ทรงรับเอาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์  เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดกีฬาเทนนิสมากและทรงเทนนิสอยู่เสมอในสนามเทนนิสวังสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการสมาคมได้คิดตราเครื่องหมายของสมาคมขึ้นเป็นพระมหามงกุฏ มีเครื่องหมาย 7 อยู่ข้างใต้ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. 2495 ทางสมาคมฯได้แปลกติกาลอนเทนนิสของสมาคมลอนเทนนิสระหว่างชาติขึ้น เพื่อเป็นหลักในการแข่งขันและไว้เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจกีฬาประเภทนี้ทราบโดยทั่วกัน

ในปี พ.ศ. 2494 มีการแข่งขันลอนเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 ปรากฎผลดังนี้

ชายเดี่ยว

ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ

นายแพทย์บรรจง กรลักษณ์
ร.ท. กระวี สุทัศน์
หญิงเดี่ยว ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นางกวด หุ้มแพร
นางสอิ้ง กล่ำสมบัติ
ชายคู่ ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นายเมืองเริง วสันตสิงห์ และ
นายจำรูญ เทียนเงิน และ นายอรุณ สีบุญเรือง
หญิงคู่ ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นางจำนรรจ์ เชิดสติ และ นางอวยพร ปิตติพงศ์
นางกวด หุ้มแพร และ นางสอิ้ง กล่ำสมบัติ
คู่ผสม ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
นายเมืองเริง วสันตสิงห์ และ นางกวด หุ้มแพร
นายเฟือก เวียนกง และ นางจำนรรจ์ เชิดสติ
ชายคู่
สูงอายุ
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
ธนพินิจ โลหกรณ์ และ นายสุจิต การพิทยา
พระสุทัศน์ พงษ์พิสุทธิ์ และ นายชิน ณ นคร
รุ่นเล็กเดี่ยว ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
สุธีรพันธ์ กรลักษณ์
วิทยา อาธวานนท์

มหา -
วิทยาลัย

ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สโมสร ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
สโมสรสีลม
สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ทางลอนเทนนิสสมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันให้กว้างขวางขึ้น มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งภาคขึ้นทุกภาคและคัดนักกีฬาที่ชนะเลิศเอามาแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทชายเดี่ยว ประเภทชายคู่ ประเภทหญิงเดี่ยว ประเภทหญิงคู่ ประเภทคู่ผสม ประเภทชายเดี่ยวสูงอายุ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ประเภทชายคู่สูงอายุ (อายุรวมกัน 100 ปีขึ้นไป) เป็นต้น

กีฬาเทนนิสในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาก ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้นนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ  ปัจจุบันมีนักเทนนิสไทยอยู่ในระดับโลกหลายคน และหวังว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย คงมีแผนงานระยะยาวที่จะทำให้กีฬาเทนนิสเมืองไทยมีมาตรฐานเท่าเทียมกับประเทศอเมริกาและกลุ่มในประเทศยุโรป


เทนนิสไทยกับ Davis Cup

ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มส่งทีมเทนนิสไทยเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพเป็นครั้งแรกในปี 1958 โดยร่วมแข่งขันอยู่ในกลุ่มโซนตะวันออก และพบกับทีมญี่ปุ่นในรอบแรก  แต่หลังจากการร่วมการแข่งขันเดวิสคัพติดต่อกัน 4 ปี ลอนเทนนิสสมาคมฯ ก็งดส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกเป็นเวลา 14 ปี เนื่องจากความซบเซาของวงการเทนนิสในประเทศไทย จนกระทั่งปี 1976  เมื่อวงการเทนนิสเริ่มตื่นตัวมากขึ้นอีกครั้ง ลอนเทนนิสสมาคมฯจึงส่งทีมเทนนิสไทยเข้าร่วมการแข่งขัน
เดวิสคัพอีกครั้งและเข้าร่วมการแข่งขันมาตลอดยกเว้นปี 1979 เพียงปีเดียว

ปี 1958
ในการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกมี 5 ประเทศ ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ซีย์ลอน, ฟิลิปปินส์ และไทย ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ กระวี สุทัศน์ ณ อยุธยา, เอนก ดวงอุดม และสุธีรพันธ์ กรลักษณ์
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยแพ้ทีมญี่ปุ่นในรอบแรก 0 - 5   ทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ ทีมฟิลิปปินส์

ปี 1959
มี 7 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออก คือ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ซีย์ลอน, เกาหลี และไทย ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ กระวี สุทัศน์ ณ อยุธยา, สุเทพ บูลกุล และ สุธีรพันธ์ กรลักษณ์
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยแพ้ทีมฟิลิปปินส์ 0 - 5 ทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ อินเดีย

ปี 1960
มี 6 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกคือ ญี่ปุ่น, ซีย์ลอน, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, เกาหลี และไทย ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ กระวี สุทัศน์ ณ อยุธยา, เสรี จารุจินดา และ สุธีรพันธ์ กรลักษณ์
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยได้ผ่านรอบแรกตามสายแข่งขัน แพ้ทีมอินเดียในรอบสอง 0 - 5   ทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ ทีมฟิลิปปินส์

ปี 1961
มี 7 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น, ซีย์ลอน, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เกาหลี และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ เสรี จารุจินดา และ สุธีรพันธ์ กรลักษณ์
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยชนะทีมซีย์ลอนในรอบแรก 3 - 2 แพ้ทีมอินเดีย ในรอบสอง 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมอินเดีย

ปี 1976
เข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออก 12 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินเดีย, เกาหลี, ศรีลังการ, ไต้หวัน, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ สมภาร จำปีศรี และ พิเชฐ บรทิศา
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยแพ้ทีมอินเดียในรอบแก 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมออสเตรเลีย

ปี 1977
เข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออก 12 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, ไต้หวัน, เกาหลี, ปากีสถาน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, นิวซีแลนด์, ออกสเตรเลีย และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ สมภาร จำปีศรี, ชนะ เตชะเสน, พิเชฐ บรทิศา และ ประเสริฐ ข่ายม่าน
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยชนะทีมมาเลเซีย 4 - 1 รอบสองทีมไทยชนะผ่านทีมฟิลปปินส์ รอบสามทีมไทยแพ้ทีมอินโดนีเซีย 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมออสเตรเลีย

ปี 1978
มี 11 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกได้แก่ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, เกาหลี, อินเดีย, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ สมภาร จำปีศรี, พิเชฐ บรทิศา และประเสริฐ ข่ายม่าน
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยแพ้ฟิลิปปินส์ 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ ทีมออสเตรเลีย

ปี 1980
มี 9 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เกาหลี, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ พนมกร พลัดเชื้อนิล และ สุพจน์ มีสวัสดิ์
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยชนะผ่านทีมฟิลิปปินส์  รอบสองทีมไทยแพ้ทีมไต้หวัน 2 - 3 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ ทีมออสเตรเลีย

ปี 1981
เริ่มจัดระบบแข่งขันใหม่ จัดกลุ่มเวิลด์กรุ๊ปจาก 16 ทีมที่เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันปีที่ผ่านมา ทีมที่เหลือต้องแข่งขันชิงชัยในโซนที่ตนสังกัด เพื่อนำทีมชนะเลิศของแต่ละโซนเข้าแข่งขันในกลุ่มเวิลด์กรุ๊ปปีต่อไป   มี 6 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกได้แก่ มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, ปากีสถาน และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ สมบัติ เอื้อมมงคล, พิเชฐ บรทิศา และพงกะพรรณ พิไสยสามนต์
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยชนะทีมมาเลเซีย 5 - 0 รอบสองซี่งเป็นรองรองชนะเลิศ ทีมไทยแพ้ทีมอินเดีย 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมอินเดีย

ปี 1982
มี 10 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง, เกาหลี, ปากีสถาน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ศรีลังกา, มาเลเซีย และไทย    ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ พนมกร พลัดเชื้อนิล และสมบัติ เอื้อมมงคล
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยได้ผ่านตามสายการแข่งขัน ในรอบสอง ทีมไทยชนะทีมศรีลังการ 3 - 1 รอบรองชนะเลิศทีมไทยแพ้ทีมญี่ปุ่น 0 - 3 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมอินโดนีเซีย

ปี 1983
มี 10 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, จีน, ฮ่องกง, เกาหลี, ไต้หวัน, อินเดีย, มาเลเซีย และไทย    ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ พนมกร พลัดเชื้อนิล และ สมบัติ เอื้อมมงคล
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยได้ผ่านตามสายการแข่งขัน รอบสองทีมไทยชนะทีมไต้หวัน 3 - 2 รอบรองชนะเลิศ ทีมไทยแพ้ทีมอินเดีย 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ ทีมอินเดีย

ปี 1984
มี 12 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ปากีสถาน, จีน, มาเลเซีย, เกาหลี, สิงคโปร์, ศรีลังกา, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, ไต้หวัน และไทย
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยได้ผ่านตามสายแข่งขัน รอบสองทีมไทยชนะทีมฮ่องกง 5 - 0 รอบรองชนะเลิศทีมไทยแพ้ทีมปากีสถาน 1 - 4 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมญี่ปุ่น

ปี 1985
การแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกมี 12 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ เกาหลี, ไต้หวัน, ฮ่องกง, จีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, อินโดยนีเซีย, ศรีลังกา, ฟิลิปปินส์ และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ เจริญชัย ไตรติลานันท์, นพปฎล ศรีเจริญ, วิทยา สำเร็จ และสมชาย ภู่แก้ว
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยได้ผ่านตามสายการแข่งขัน รอบสอง ทีมไทยแพ้ทีมฟิลิปปินส์ 1 - 4 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมนิวซีแลนด์

ปี 1986
การแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกมี 13 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, ฮ่องกง, ไต้หวัน, จีน, มาเลเซีย, บังคลาเทศ, อินโดนีเซีย, เกาหลี, ฟิลิปปินส์, ปากีสถาน, ศรีลังกา, และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ พนมกร พลัดเชื้อนิล, ธนากร ศรีชาพันธ์, วรพล ทองคำชู, วิทยา สำเร็จ และสมบัติ เอื้อมมงคล
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยชนะทีมบังคลาเทศ 4 - 1 รอบสอง ทีมไทยชนะทีมอินโดนีเซีย 4 - 1 รอบรองชนะเลิศทีมไทยแพ้ทีมเกาหลี 0 - 5 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมเกาหลี

ปี 1987
ในการแข่งขันเดวิสคัพโซนตะวันออกมี 13 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ นิวซีแลนด์, ไต้หวัน, ศรีลังกา, ญี่ปุ่น, บังคลาเทศ, จีน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ปากีสถาน, มาเลเซีย, ฮ่องกง และไทย   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ ธนากร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู, วิทยา สำเร็จ และพนมกร พลัดเชื้อนิล
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยได้ผ่านตามสายการแข่งขัน รอบสอง ทีมไทยชนะทีมปากีสถาน 3 - 2 รอบรองชนะเลิศทีมไทยแพ้ทีมนิวซีแลนด์ 1 - 4 และทีมชนะเลิศโซนตะวันออกได้แก่ทีมนิวซีแลนด์

ปี 1988
เปลี่ยนระบบการแข่งขันใหม่ เนื่องจากมีชาติสมัครเข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละโซนมากขึ้น จึงมีการแบ่งระดับทีมในแต่ละโซนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กรุ๊ป 1 และกรุ๊ป 2 ทีมที่มีผลการแข่งขันดีที่สุดในแต่ละโซน 6 ทีม ได้รับการจัดให้อยู่ในกรุ๊ป 1  ทีมที่ชนะเลิศในกรุ๊ป 1 จะได้สิทธิ์ขึ้นไปแข่งขันในเวิลด์กรุ๊ปปีต่อไป  ในขณะเดียวกัน ทีมที่แพ้ในรอบแรก กรุ๊ป 1 สองทีม  จะต้องแข่งขันกันรักษาสถานภาพ เพื่อสิทธิ์ในการดำรงอยู่ในกรุ๊ป 1 ของปีต่อไป ทีมที่แพ้จะต้องตกไปอยู่ในกรุ๊ป 2 เพื่อให้ทีมที่ชนะเลิศในกรุ๊ป 2 เลื่อนขึ้นสู่กรุ๊ป 1 แทนที่   ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ วรพล ทองคำชู, ธนากร ศรีชาพันธุ์, วิทยา สำเร็จและภราดร จีนชาวนา
ทีมไทยได้รับการจัดอยู่ในกรุ๊ป 1 โซนเอเชีย-โอเชียเนีย (โซนตะวันออกเดิม) เช่นเดียวกับทีมเกาหลีใต้, จีน, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, และฟิลิปปินส์
ผลการแข่งขัน  รอบแรก ทีมไทยแพ้ทีมอินโดนีเชีย 5-0 ทำให้ต้องแข่งในรอบรักษาสถานภาพทีมกรุ๊ป 1 กับทีมญี่ปุ่น ซึ่งแพ้ฟิลิปปินส์ในรอบแรกเช่นกัน
ในการพบกับทีมญี่ปุ่น พนมกร พลัดเชื้อนิล ถูกเรียกตัวเข้ามาเสริมทีมแทน ธนากร ศรีชาพันธุ์ ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าเนื่องจากลื่นล้มในการแข่งขันสิงห์เทนนิสโอเพ่น ก่อนหน้าการแข่งขันเดวิสคัพไทยกับญี่ปุ่นประมาณ 3 สัปดาห์
ผลการแข่งขัน ปรากฏว่าทีมไทยเป็นฝ่ายปราชัย ต้องตกจากกรุ๊ป 1 มาอยู่กรุ๊ป 2 ในการแข่งขันปีต่อมา

ปี 1989
่้่้้่้
ในการแข่งขันเดวิสคัพโซนเอเชีย-เอเชียเนีย กรุ๊ป 2 ทีมไทยได้รับการวางมือเป็นอันดับหนึ่งในสายการแข่งขัน มีทีมปากีสถาน ได้รับการวางมือเป็นอันดับ 2 โดยมี 12 ชาติเข้าร่วมการแข่งขันในกรุ๊ปนี้ ประกอบด้วย ไทย, บาห์เรน, ซีเรีย, ไต้หวัน, ศรีลังกา, มาเลเซีย, อิรัค, บังคลาเทศ, สิงคโปร์, จอร์แดน, คูเวต และปากีสถาน
ผู้เล่นทีมไทยได้แก่ ธนากร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู, พนมกร พลัดเชื้อนิล และวิทยา สำเร็จ
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยได้ผ่านรอบแรกตามสายการแข่งขัน รอบสองชนะบาห์เรน 5 - 0 และรอบรองชนะเลิศชนะศรีลังกา 5 - 0 ซึ่งการชนะทั้งสองรอบนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันที่สนามเทนนิสหัวหมาก  แต่ในรอบชิงชนะเลิศ ทีมไทยเป็นฝ่ายแพ้ทีมปากีสถาน 1 - 3 ในการแข่งขันที่เมืองราวัลปินดี ประเทศปากีสถาน

ปี 1990
ปากีสถานได้เลื่อนขึ้นสู่การแข่งขันกรุ๊ป 1 ในขณะที่ฮ่องกงลงมาแทนที่ปากีสถานในกรุ๊ป 2 ได้รับการวางมืออันดับ 1 และทีมไทยเป็นอันดับ 2 โดยมี 12 ชาติเข้าร่วมการแข่งขันในกรุ๊ป 2 ประกอบด้วย ฮ่องกง, จอร์แดน, มาเลเซีย, บังคลาเทศ, สิงคโปร์, ไต้หวัน, บาห์เรน, อิรัก, ศรีลังกา คูเวต และไทย
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยได้ผ่านรอบแรกตามสายการแข่งขัน รอบสองชนะคูเวต 5 - 0 ในการแข่งขันที่กรุงคูเวตซิตี้ ประเทศคูเวต   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย วรพล ทองคำชู, ธนากร ศรีชาพันธุ์, วิทยา สำเร็จ และ นราธร ศรีชาพันธุ์    รอบรองชนะเลิศทีมไทยชนะศรีลังกา 4 - 1 ในการแข่งขันที่กรุงโคลัมเบีย ประเทศศรีลังกา   พนมกร พลัดเชื้อนิล ซึ่งเพิ่งลาสิกขาจากบรรพชิตเพศ  เข้าเสริมทีมแทน นราธร ศรีชาพันธุ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างร่วมทีมเทนนิสเยาวชนดาราเอเชีย ตระเวณแข่งขันเทนนิสเยาวชนนานาชาติระดับโลก 6 รายการในยุโรป
ผลการแข่งขัน  รอบชิงชนะเลิศกรุ๊ป 2 ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกับทีมฮ่องกง ที่สนามเทนนิสหัวหมาก ท่ามกลางบรรยากาศแข่งขันตื่นเต้นเร้าใจ เพราะฮ่องกงเป็นฝ่ายนำไทยไปก่อน 1 - 2 ในการแข่งขัน 2 วันแรก  แต่ทีมไทยสามารถพลิกกำชัยอย่างเด็ดขาดชนะไป 3 - 2 ในวันสุดท้าย   ทำให้ทีมไทยชนะเลิศการแข่งขันกรุ๊ป 2 ได้เลื่อนขึ้นสู่กรุ๊ป 1 ในการแข่งขันปีต่อไป   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วยชุดเดิมจากรอบรองชนะเลิศ แต่ครั้งนี้นาวาตรีจำเริญ วิลนิตย์ ผู้จัดการทีมต้องลงทำหน้าที่กัปตันทีมเป็นโค้ชริมสนาม เนื่องจากพอลเดล โค้ชทีมชาติไทยจากนิวซีแลนด์ ไม่ได้รับอนุมัติจากสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ไอทีเอฟ) ให้ทำหน้าที่ เนื่องจากยังไม่มีหนังสืออนุญาตอย่างเป็นทางการจากสมาคมเทนนิสนิวซีแลนด์แสดงต่อไอทีเอฟ

ปี 1991
ทีมไทยลงแข่งขันในกรุ๊ป 1 และพบกับทีมอินเดียในรอบก่อนรอบแรก โดยฝ่ายไทยจัดการแข่งขันที่สนามเทนนิสหัวหมาก
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยพ่ายแพ้อินเดียอย่างยับเยิน ต้องกลับไปสู่การแข่งขันระดับกรุ๊ป 2 ในปีต่อไป   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย วรพล ทองคำชู, ธนากร ศรีชาพันธุ์, นราธร ศรีชาพันธุ์, วิทยา สำเร็จ โดยมีพอล เดล ทำหน้าที่เป้นกัปตันทีมและโค้ช และ พนมกร พลัดเชื้อนิล เป็นผู้ช่วยโค้ช  ซึ่งผู้จัดการทีมได้แก่ นาวาตรีจำเริญ วิมลนิตย์

ปี 1992
ทีมไทยเป็นทีมวางอันดับ 1 ในการแข่งขันกรุ๊ป 2
ผลการแข่งขัน  รอบแรกเอาชนะสิงคโปร์ 5 - 0 ที่สนามเทนนิสหัวหมาก และรอบรองชนะเลิศชนะทีมมาเลเซีย 3 - 2 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์  แต่ในรอบชิงชนะเลิศไทยปราชัยฮ่องกง 2 - 3 ที่ฮ่องกง    ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย ธนากร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู, นราธร ศรีชาพันธุ์ และวิทยา สำเร็จ โดยมีพนมกร พลัดเชื้อนิล ทำหน้าที่เป็นกัปตันทีม

ปี 1993
ทีมไทยได้รับการวางทีมเป็นอันดับ 2 ในกรุ๊ป 2 และเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศติดต่อกันเป็นปีที่สอง
ผลการแข่งขัน  สามารถเอาชนะคูเวตในการแข่งขันรอบแรก 5 - 0 ที่สนามเทนนิสหัวหมาก และเอาชนะทีมปากีสถาน 5 - 0 ที่สนามเทนนิสหัวหมาก แต่ก็ยังไปปราชัยทีมจีน 1- 4 ทำให้ทีมไทยยังต้องอยู่ในการแข่งขันกรุ๊ป 2 อีกต่อไป   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย ธนากร ศรีชาพันธุ์, นราธร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู และวิทยา สำเร็จ โดยมีพนมกร พลัดเชื้อนิล ทำหน้าที่เป็นกัปตันทีม

ปี 1994
ทีมไทยได้รับการวางทีมเป็นอันดับ 2 ในกรุ๊ป 2 โซนเอเชีย/โอเชียเนีย
ผลการแข่งขัน  รอบแรกเอาชนะทีมศรีลังกา 5 - 0 ในการแข่งขันที่สนามเทนนิสหัวหมาก และไปปราชัยทีมอิหร่าน 1 - 4 ในรอบรองชนะเลิศ ที่กรุงเตหะราน   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย นราธร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชูและวิทยา สำเร็จ โดยมีนายธนชาติ เอื้อมมงคล เป็นกัปตันทีม  ทีมไต้หวันเป็นทีมชนะเลิศ  ด้วยการเอาชนะทีมอิหร่านในรอบสุดท้าย

ปี 1995
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเดวิสคัพ โซนเอเชีย/โอเชียเนีย กรุ๊ป 2
ผลการแข่งขัน  ในสองรอบแรกที่สนามเทนนิสธนาซิตี้กอล์ฟแอนด์คันทรี่คลับ โดยรอบแรกเอาชนะทีมมาเลเซีย 4 - 1 แต่ในรอบสองปราชัยทีมจีน 2 - 3 ซึ่งการแข่งขันสองวันแรกนั้น ทีมจีนทำได้ก่อนแล้วใน 3 แมตช์แรก   ทีมไทยประกอบด้วย นราธร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู, ธนากร ศรีชาพันธุ์ และวิทยา สำเร็จ โดยมีธารวัฒน์ ค้าเจริญเป็นกัปตันทีม  สมบัติ เอื้อมมงคลเป็นผู้จัดการทีม   ในรอบชิงชนะเลิศปีนี้  ทีมจีนเอาชนะทีมอูซเบกิสถาน

ปี 1996
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเดวิสคัพ โซนเอเชีย/โอเชียเนีย กรุ๊ป 2 ในสองรอบแรก ที่สนามเทนนิสหัวหมาก
ผลการแข่งขัน  ในรอบแรกทีมไทยสามารถเอาชนะทีมอิหร่าน 4 - 1 และในรอบสองชนะทีมฮ่องกง 5 - 0 ก่อนจะไปปราชัยในรอบชิงชนะเลิศต่อทีมอูซเบกิสถาน 0 - 5 บนคอร์ทดิน  เมืองทาชเคนต์ ประเทศอูซเบกิสถาน   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย นราธร ศรีชาพันธุ์, วิทยา สำเร็จ, วรพล ทองคำชู และธนากร ศรีชาพันธุ์ โดยมีเสถียร ปุรณะวิทย์ เป็นกัปตันทีมในสองนัดแรก และนาวาตรีจำเริญ วิมลนิตย์ เป็นกัปตันทีมในรอบสุดท้าย

ปี 1997
ทีมไทยได้รับการวางมือเป็นอันดับ 2
ผลการแข่งขัน  เอาชนะทีมฮ่องกง 5 - 0 ที่ฮ่องกง ในรอบแรก แต่ในรอบสองไปพ่ายแพ้ทีมเลบานอน 0 - 5 ที่นครเบรุต ประเทศเลบานอน   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย วิทยา สำเร็จ, นราธร ศรีชาพันธุ์, วรพล ทองคำชู และธนากร ศรีชาพันธุ์  โดยมีนาวาตรีจำเริญ วิมลนิตย์เป็นกัปตันทีม

ปี 1998
ผลการแข่งขัน  ทีมไทยเดินทางไปแข่งขันรอบแรกกับทีมฟิลิปปินส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นฝ่ายชนะอย่างงดงาม 4 - 1 และในรอบสองหรือรอบรองชนะเลิศของโซนเอเชีย/โอเชียเนีย กรุ๊ป 2 ทีมไทย พบกับ ทีมไต้หวัน ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และเป็นครั้งแรกที่ลอนเทนนิสสมาคมฯ จัดการแข่งขันเดวิสคัพที่สนามเทนนิสโรงแรมรอยัลคลิฟฟ์บีชรีสอร์ท เมืองพัทยา   ผู้เล่นทีมไทยประกอบด้วย ภราดร ศรีชาพันธุ์, นราธร ศรีชาพันธุ์, วิทยา สำเร็จ และ ดนัย อุดมโชค  โดยมี ชนวน โรยมณี เป็นกัปตันทีม  และ ยงยุทธ เพ็ชร์สุวรรณ เป็นผู้จัดการทีม